7 ท่านั่งที่ผิดวิธีและส่งผลกระทบต่อร่างกายให้เป็นออฟฟิศซินโดรม

307 Views  | 



ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (myofascial pain syndrome) ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อ และอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการนั่งหรือยืนทำงานท่าเดิมต่อเนื่องหลายชั่วโมงเป็นประจำ การนั่งขับรถนาน การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ และสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น เก้าอี้ โต๊ะ ไม่เหมาะกับสรีระร่างกายของบุคคลนั้น สาเหตุเหล่านี้ ส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เนื่องจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวมากเกินไปจนหดสั้น ส่งผลทำให้บีบรัดเส้นเลือดบริเวณนั้น ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หรืออาจมีอาการร้าวชาลงปลายแขนและปลายเท้า เนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็งมากเกินจนทับเส้นประสาท

อาการของออฟฟิศซินโดรมมักเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบประสาท เช่น

*ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง มักเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น คอ บ่า ไหล่ เมื่อมีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณนี้ อาจส่งผลให้มีอาการร้าวขึ้นศีรษะหรือร้าวลงแขนได้
*อาการชาบริเวณมือและแขน เนื่องจากเส้นประสาทถูกกดทับ
*ปวดศีรษะจากความเครียด สามารถส่งผลให้กล้ามเนื้อมีความเกร็งตัวจนเกิดอาการตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่
*สายตาล้าและปวดตา จากการจ้องจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป
*อาการปวดไมเกรน ที่เกิดจากความเครียดและการไหลเวียนเลือดไม่ดี
*อาการเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ขาบวมจากการนั่งนาน ๆ เป็นต้น

อาการเหล่านี้ไม่ใช่มีแค่กลุ่มพนักงานออฟฟิศ หลายๆ คนเข้าใจว่า ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เกิดขึ้นได้เฉพาะกับคนทำงานออฟฟิศ แต่ในความเป็นจริง สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นเดิมๆ วัยเรียน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ สามารถเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้เช่นกัน สาเหตุเพราะไลฟ์สไตล์การทำงานของแต่ละบุคคลเปลี่ยนไป จากการทำงานกลางแจ้ง มีการขยับตัวหรือเดินระหว่างการทำงาน เปลี่ยนมาเป็นการทำงานในออฟฟิศหรือการนั่งทำงานบริเวณโต๊ะหน้าคอมพิวเตอร์กันเป็นเวลานานมากขึ้น ไปจนถึงเทรนด์การทำงานที่บ้าน (Work From Home) ที่ทำให้เกิดกลุ่มโรคนี้ได้ง่ายขึ้น

ท่านั่งที่ผิดวิธีจะส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างไรบ้าง
การนั่งทำงานผิดวิธีเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการและปัญหากับกล้ามเนื้อหลายอย่าง เช่น

1.ปวดคอและไหล่ เกิดจากการก้มคอมากเกินไป หรือยกไหล่โดยไม่รู้ตัว เช่น เวลาพิมพ์คีย์บอร์ด ก้มหน้าเล่นโทรศัพท์

2.ปวดหลังส่วนบนและกลาง เกิดจากการนั่งหลังค่อมหรือหลังแอ่นเกินไป

3.ปวดหลังส่วนล่าง มาจากการนั่งนานโดยไม่มีพนักพิงรองรับหรือการนั่งไขว้ขานาน ๆ

4.ปวดข้อมือและแขน อาจเกิดจากการวางข้อมือผิดท่าเวลาพิมพ์ หรือใช้เมาส์นาน ๆ

5.กล้ามเนื้อล้าและตึงตัว โดยเฉพาะบริเวณสะบัก คอ และบ่า เนื่องจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ

6.ปวดสะโพกและต้นขา การนั่งนาน ๆ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี และกล้ามเนื้อสะโพกตึง

7.ชาและตึงที่ขา เกิดจากแรงกดทับที่เส้นประสาท หรือเลือดไหลเวียนไม่สะดวกหากนั่งทำงานผิดท่านาน ๆ อาจนำไปสู่ปัญหาระยะยาว เช่น ออฟฟิศซินโดรม หรือกระดูกสันหลังเสื่อมได้ ควรเปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย และจัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสม

ท่านั่งที่ถูกวิธี

1.ปรับท่านั่งให้ถูกต้อง นั่งตัวตรง ไม่งอหลัง ปรับเก้าอี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
2.จัดหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
3.พักสายตาและลุกเดินทุก ๆ 30-60 นาที เพื่อให้ร่างกายได้เปลี่ยนท่าทาง
4.บริหารกล้ามเนื้อและยืดเหยียดเป็นประจำ เพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อ
5.จัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม เช่น ปรับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ ใช้เก้าอี้ที่รองรับสรีระ
6.ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
7.พักผ่อนให้เพียงพอและลดความเครียด เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวจากความเมื่อยล้า


การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) มีหลายวิธี เช่น การทำประคบร้อน ประคบสมุนไพร นวดคลายกล้ามเนื้อ การกดจุดรักษา การตอกเส้น ก็จะทำให้อาการปวดลดลง ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) เป็นอาการที่ไม่ได้เสี่ยงถึงชีวิต แต่สร้างความรำคาญ และสามารถลุกลามไปยังกล้ามเนื้อหรือกระดูกส่วนอื่น ๆ ได้ ยิ่งเป็นแล้วปล่อยไว้ จะยิ่งทรมานส่งผลกระทบต่อการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงสภาพจิตใจได้

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy